ลายสือไทย “เมื่อก่อนลายสือไทยนี้ บ่มี ๑๒๐๕ ศก ปีมะแม"
“พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจ ในใจแลใส่ลายสือไทย"
“ลายสือไทย จึงมีเพื่อพ่อขุน ผู้นั้นใส่ไว้”

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงประดิษฐ์ลายสือไทยหรือตัวหนังสือไทยขึ้น
เมื่อมหาศักราช 1205 (พุทธศักราช 1826) นับมาถึงพุทธศักราช 2526
ได้ 700 กว่าปี ในระยะเวลาดังกล่าว ชาติไทยได้สะสมความรู้ทั้งทางศิลปะ


มรดกโลกล้ำเลิศ

ความทรงจำแห่งโลก
แผนงานของยูเนสโกว่าด้วย “ความทรงจำแห่งโลก”
ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
เอกสารมรดกของไทย – มรดกของโลก

เมื่อปลายเดือนตุลาคม ๒๕๔๖ นายปองพล อดิเรกสาร รัฐมนตรีว่ากระทรวง ศึกษาธิการ ในฐานะประธานคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยความร่วมมือกับยูเนสโก (องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และ วัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ - United Nations Educastional, Scientific and Cultural Organizations - UNESCO)ได้รับหนังสือลงวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๖ จากผู้อำนวยการยูเนสโก แจ้งว่ายูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนศิลาจารึก พ่อขุนรามคำแหงมหาราชไว้ในทะเบียนความทรงจำแห่งโลก (Memory of the World Register) พร้อมกับหนังสือฉบับนี้ ได้แนบใบประกาศการขึ้นทะเบียนมาให้ประเทศไทย เนื่องจากเอกสารมรดกของไทย ซึ่งยูเนสโกได้รับรองให้เป็นเอกสารมรดกของโลกแล้วนี้ มีคุณค่าต่อชาวโลกเป็นอันมาก ขอแนะนำให้ใส่กรอบใบประกาศและติดไว้ในที่แห่งเดียวกับศิลาจารึก เพื่อให้คนทั่วไปที่มาชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ที่เก็บศิลาจารึกหลักนี้ไว้ได้ทราบทั่วกันเอกสารมรดกของไทย – มรดกของโลก

การขึ้นทะเบียนเอกสารที่มีคุณค่าล้ำนั้น เป็นแผนงานของยูเนสโก เพื่ออนุรักษ์เอกสารมรดกและเผยแพร่ให้บุคคลทั่วโลกได้รู้จักและเข้าใจเนื้อหาสาระในเอกสารมรดกสามารถ นำไป ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ในการปฏิบัติงาน ในการศึกษาเล่าเรียน และการเข้าใจแนวคิด ปรัชญา และประวัติเรื่องราวของบุคคล ชุมชน และสังคมที่แตกต่าง เชื้อชาติและวัฒนธรรม แต่ก็นับเป็นชาวโลกเดียวกัน ความเข้าใจเรื่องราวในชีวิตของกันและกัน ตั้งแต่ครั้งอดีตจนถึงปัจจุบัน จะเป็นพื้นฐานของการสร้างสังคมที่สงบสุข และเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกันต่อไปจนถึงอนาคต